วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ไวรัสมาใหม่....โปรดระวัง

ข้อมูลสรุปนี้ไม่พร้อมใช้งาน โปรด คลิกที่นี่เพื่อดูโพสต์

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เทคโนโลยีไร้สาย

เทคโนโลยีไร้สาย
โทรศัพท์เป็นอุปกรณ์สื่อสารที่มีพัฒนาการกว่า 100 ปี อเล็กซานเดอร์เกรแฮลเบล เป็นผู้พัฒนา และก่อตั้งบริษัทโทรศัพท์ ให้บริการครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาพัฒนาการของโทรศัพท์เริ่มจากการใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อ ซึ่งต้องใช้สายทองแดง มากมายมหาศาล ปัจจุบันทั่วโลกมีโทรศัพท์มากกว่า 800 ล้านเลขหมาย และกำลังเพิ่มขึ้น จนหลายครั้งการวัดดัชนี การพัฒนาของประเทศประการหนึ่งจึงใช้จำนวนเลขหมายต่อประชากร 100 คน ในประเทศที่พัฒนาแล้วมีระบบโทรศัพท์ มากกว่า 50 เลขหมายต่อประชากร 100 คน สำหรับในประเทศไทยจำนวนการใช้โทรศัพท์ได้เพิ่มขึ้นจนมีตัวเลขเกือบ 20 เล
หมายต่อประชากร 100 คน นับเป็นการพัฒนาที่รวดเร็วในระยะ 10 ปีหลังนี้เอง
สิ่งที่เข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาระบบโทรศัพท์และเพิ่มจำนวนผู้ใช้มากอีกทางหนึ่งคือ โทรศัพท์มือถือหรือเรียกว่า โมบายโฟน โทรศัพท์มือถือจัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีไร้สาย (wireless technology) โทรศัพท์มือถือได้เริ่มพัฒนาใช้ ครั้งแรกที่โตเกียวและชิคาโก ในปี ค.ศ. 1987 จากนั้นได้แพร่หลาย อย่างรวดเร็วและหากพิจารณาเฉพาะในประเทศไทย พบว่าความนิยมใช้โทรศัพท์มือถือมีใช้กันมากและแพร่หลาย
พัฒนาการของโทรศัพท์มือถือที่ใช้เทคโนโลยีไร้สาย มีการพัฒนาที่รวดเร็วมาก ปัจจุบันมีระบบการแบ่งเป็นเซลครอบคลุม พื้นที่ โดยหากเราเคลื่อนที่อยู่ในเซลใด เราก็จะติดต่อย้ายสถานีเบสที่เซลนั้น และเพื่อให้การใช้งานร่วมกับเครือข่าย โทรศัพท์ปกติได้ดี ยังมีผู้พัฒนาระบบพีซีที PCT-Personal Communication Telephone ที่จัดให้มีเซลขนาดเล็ก ครอบคลุมพื้นที่ ทำให้การใช้งานแบบไร้สายได้ง่ายแต่หากมีการเคลื่อนที่เร็ว ๆ แล้วย้ายเซล การสวิตซ์ระหว่างเซลอาจ ทำไม่ทัน ทำให้การใช้ระบบพีซีทีจำกัดในเรื่องการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงผิดกับระบบโทรศัพท์มือถือแบบปกติที่มี ขนาดใหญ่กว่ามาก
รูปที่ 1 การใช้ระบบไร้สายจำเป็นต้องแบ่งพื้นที่เซลและติดต่อกับสถานี
เมื่อเทคโนโลยีทางด้านโทรศัพท์ไร้สายมีพัฒนาการก้าวหน้าเร็วมีการแข่งขันสูง จึงมีผู้พัฒนาให้ก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น จนขยายขอบเขตของเซลทำได้หลายแบบ เช่น ให้เซลเคลื่อนที่ โดยใช้ดาวเทียมวงโคจรต่ำเป็นสถานีเบส และมี ดาวเทียมวิ่งรอบโลกจำนวนมาก เช่น ระบบอิริเดียมที่ใช้ดาวเทียม 66 ดวง อย่างไรก็ตามระบบดาวเทียมมีต้นทุนสูง การพัฒนาให้ครอบคลุมพื้นที่โลกยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เพราะระบบการสื่อสารบนพื้นโลกมีระบบที่เรียกว่า GSM-Global System for Mobilization เป็นระบบโทรศัพท์เซลลูล่าแบบปกติที่มีต้นทุนต่ำกว่าให้บริการได้ครอบคลุม ทั่วโลกเช่นกัน คาดกันว่าภายในปี พ.ศ. 2547 จะมีผู้ใช้ระบบ GSM ทั่วโลกถึงกว่า 750 ล้านคน การใช้งานระบบนี้จะ ทำให้การติดต่อสื่อสารที่ใด ๆ ก็ได้บนพื้นโลก และยังสามารถพกพาติดตัวไปได้ ไม่มีขีดจำกัด
การที่เทคโนโลยีไร้สายมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วเพราะการสื่อสารรูปแบบใหม่เป็นการสื่อสารแบบดิจิตอล งบประมวล ผลเชิงเลขของซีพียูทำได้เร็วมาก ระบบการบีบอัดข้อมูล ระบบการถอดรหัส การเข้ารหัสต่าง ๆ ทำได้ดีมาก สามารถอัด ข้อมูลดิจิตอลเข้าในช่องสัญญาณข้อมูลที่แคบ ๆ ได้
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบแลน แบบอินเทอร์เน็ตไร้สาย ซึ่งคาดว่าระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายนี้จะเป็นมิติใหม่ของ เครือข่ายคอมพิวเตอร์และเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ โดยไปรวมกับเทคโนโลยีสื่อสารทางเสียงคือโทรศัพท์กับอินเทอร์เน็ต ดูจะมีแนวทางที่เป็นไปได้และจะได้พบเห็นโทรศัพท์บนอินเตอร์เน็ตในไม่ช้านี้
กล่าวกันว่าเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารกำลังก้าวเข้าหากันและในที่สุดจะรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ก็จะมีระบบสื่อสารและคอมพิวเตอร์ร่วมด้วยเช่นกัน
เทคโนโลยีเน้นความคล่องตัว จากพีซีตั้งโต๊ะก็กลายเป็นแลปทอป โน้ตบุค ปาล์ม และกำลังเป็นคอมพิวเตอร์แบบพกพา ที่ประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางขึ้น จากระบบโทรศัพท์หรือระบบสื่อสารก็กำลังกลายเป็นโมบาย เป็นโทรศัพท์แบบพกพา ติดตัว (พีซีที)
การใช้งานเน้นความสะดวก ระบบโมบายคอมพิวติ้ง ทำให้การทำธุรกิจนอกองค์กรเกิดขึ้นได้ ระบบโมบาย นำระบบข้อมูลผสมกับเสียงและกำลังก้าวเข้าสู่อินเทอร์เน็ต ทำให้เราเรียกเข้าหาอินเทอร์เน็ตเป็นแบบ any time, any where และ any one
สิ่งที่น่าสนใจในเรื่องเทคโนโลยีคือ ระบบไร้สาย (wireless) ไร้สายทำให้อีคอมเมิร์ซ (ecommerce) กลายมาเป็น เอ็มคอมเมิร์ซ (mcommerce) เป็นการทำธุรกรรมย่านระบบไร้สาย เช่น ใช้โทรศัพท์มือถือ ใช้ wireless lan ใช้ปาล์ม ทอปการดำเนินธุรกิจทำได้กว้างขวาง เช่น การติดต่อสื่อสาร อีเมล ส่งข้อมูล ใช้เป็นการติดต่อฝ่ายระบบสื่อสารเพื่อทำ ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น จ่ายค่าสาธารณูปโภค จองตั๋ว ซื้อสินค้า ฯลฯ
การใช้ระบบไร้สาย สำหรับอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า wireless IP กำลังเป็นเส้นทางการพัฒนาที่สำคัญ มีการพัฒนาให้ระบบโทรศัพท์มือถือใช้โปรโตคอล IP พัฒนาระบบแลนอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย ตามมาตรฐาน IEEE802.11 ซึ่งสามารถใช้ระบบไร้สายที่ความเร็วถึง 11 เมกะบิตต่อวินาที
โครงสร้างของระบบไร้สายมีลักษณะเหมือนเครือข่ายแลนทั่วไป กล่าวคือมีระบบแลนเซิร์ฟเวอร์ซึ่งเป็น DHCP-Dynamic Host Configuration Protocol เป็นตัวกลางที่ทำให้คอมพิวเตอร์ไคลแอนต์ต่าง ๆ ติดต่อได้ DHCP เซิร์ฟเวอร์จึง เปรียบเสมือนศูนย์กลางของเซลที่ทำหน้าที่ติดต่อกับเครื่องลูกคล้ายระบบพีซีที DHCP จะจ่ายหมายเลข IP ให้กับเครื่อง ลูกและติดต่อสื่อสารกันได้ โดยเครื่องลูกจะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตผ่าน DHCP เข้าสู่อินเทอร์เน็ต
ระบบไร้สายเป็นระบบสร้างความสะดวกให้กับผู้ใช้ เพราะสามารถเคลื่อนที่และยังสามารถใช้ที่ใดก็ได้โดยต้องอยู่ในเซล ที่ DHCP ส่งสัญญาณไปถึง ลักษณะนี้จึงทำให้เซลในองค์กรและให้บุคลากรในองค์กรใช้ผ่านระบบไร้สายนี้ได้
เมื่อให้ระบบโทรศัพท์มือถือและปาล์มทอป ที่มีจอภาพขนาดเล็กเชื่อมต่อ และเรียกใช้อินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายได้ จึงมี การสร้างโปรโตคอลให้รองรับการประยุกต์ใช้กับโทรศัพท์มือถือ เราเรียกโปรโตคอลใหม่นี้ว่า WAP-Wireless Application Protocol
WAP เป็นโปรโตคอลแบบประยุกต์แบบเดียวกับ http ที่ใช้กับ www โดยเน้นให้ WAP เป็นมาตรฐานเปิด มีการเชื่อม โยงกันได้ทั่วโลกและต้องไม่ใช้กับอุปกรณ์ เพราะสามารถใช้ได้ทั้งคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ
ลักษณะของ WAP มีโปรโตคอลที่ทำให้เครื่องไคลเอนต์วิ่งเข้าหาเซิร์ฟเวอร์ได้ เหมือนการใช้อินเทอร์เน็ต โดยเซิร์ฟเวอร์อยู่บนอินเทอร์เน็ตและใช้บนโปรโตคอล TCP/IP การใช้ WAP จึงเป็นโปรโตคอลที่วิ่งไปบน IP เหมือนกับ การใช้ระบบอินเตอร์เน็ตทั่วไปและใช้ร่วมกับการประยุกต์อื่นได้ โมเดลการใช้ระบบ WAP เขียนเป็นรูปแบบได้ดังนี้
การพัฒนาระบบ WAP เซิร์ฟเวอร์จึงเหมือนกับ www หรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ แต่การจัดโครงสร้างข้อมูลเน้นให้ เรียกใช้ผ่านจอขนาดเล็กของระบบมือถือได้ ดังนั้นจึงต้องสร้างโปรโตคอลพิเศษ
แต่เพื่อให้การทำระบบร่วมกันระหว่าง WAP กับ www จึงมีการสร้างของมาตรฐานพิเศษที่เรียกว่า XML-Extended Marked Up Language เพื่อใช้กำหนดข้อมูลบนเวํบ และมีตัวแปลที่เรียกว่า XSL-Extended Style Language เป็น ตัวแปลเพื่อใช้กับระบบมือถือหรือระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้เงื่อนไขต่างกันคือใช้ WML-Wap Marked Up Language หรือ HTML โครงสร้างของระบบการพัฒนาข้อมูลจึงเป็นดังรูป

XML บทบาทที่สำคัญ
เพื่อให้การรวมกันของเว็บ (web) กับ wap จะเกิดขึ้นได้ จำเป็นที่จะต้องสร้างมาตรฐานทางด้านการเขียนข้อมูลที่มีความ ละเอียดและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เหมาะ HTML เป็นมาร์กเกอร์หรือเป็นแท็ก (tag) ที่กำกับข้อมูล เพื่อใช้แสดงบนจอภาพ คอมพิวเตอร์การแสดงผลบนจอภาพคอมพิวเตอร์มีขนาดใหญ่ ผู้พัฒนาเรื่องเว็บโดยเน้นการแสดงผลบนหน้าจอที่มีความ ละเอียดประมาณ 1,000 x 1,000 จุด แต่ระบบหน้าจอของโทรศัพท์หรือเครื่องปาล์มมีความละเอียดต่างกันมาก
ระบบแท็ก ระบบใหม่จึงต้องมีรายละเอียดการกำกับมากขึ้นและที่สำคัญคือระบบข้อมูลในอนาคตต้องรองรับระบบการใช้ ของใหม่ ๆ ได้อีกมาก เช่น ระบบการทำดัชนี ระบบการปรับแต่งข้อมูลแบบอัตโนมัติ ระบบการแสดงผลแบบไดนามิกส์ ระบบการแสดงผลความต้องการ หรือการใส่ระบบอัจฉริยะให้กับราวเซอร์ต่าง ๆ จะกระทำได้ง่ายขึ้น
ด้วยเหตุนี้จึงมีการวางมาตรฐานใหม่ทางด้าน HTML โดยขยายขอบเขตของแท็กให้กว้างขวางขึ้น ระบบที่ขยายเพิ่มเติม นี้เรียกว่า XML มาตรฐาน XML จึงเป็นมาตรฐานการแสดงเนื้อหาบนเครือข่ายที่จะต้องรองรับทั้งระบบที่เป็นคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
ระบบที่ต้องคำนึงถึง
การสร้างเครือข่ายไร้สายกระทำได้ไม่ยาก แต่ระบบดังกล่าวอาจสร้างปัญหาหลายอย่าตามมา ดังจะเห็นได้จากระบบ โทรศัพท์มือถือในยุคแรกปัญหาใหญ่อยู่ที่การจูนมือถือ หรือพวกมิจฉาชีพกระทำการมิชอบในการแอบใช้หรือสร้างปัญหา ให้กับผู้ใช้การลักลอบจูนมือถือกระทำได้ง่ายเพราะระบบมีการส่งด้วยสัญญาณวิทยุซึ่งสามารถดักฟังสัญญาณวิทยุนี้ได้จาก ทุกหนทุกแห่ง
เพื่อป้องกันในเรื่องนี้ จึงมีการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยของระบบ ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้ผู้ใช้งานมีความมั่นใจมาก ยิ่งขึ้น การเข้ารหัสและการสร้างรหัสรักษาความปลอดภัยบนเครือข่ายไร้สายเป็นเทคนิคขั้นสูง ทั้งนี้เพราะระบบรหัส ถ้า เป็นระบบปกติการดักฟัง การล้วงความลับทำได้ง่าย คลื่นวิทยุเป็นคลื่นที่กระจายออกทุกทิศทาง การเก็บข้อมูลจากคลื่น วิทยุแล้วนำมาวิเคราะห์เป็นหนทางที่มิจฉาชีพดำเนินการเข้ารหัสผ่าน (password) จึงต้องเป็นระบบที่มีความซับซ้อน




อนาคตของระบบไร้สาย
คลื่นความถี่ของระบบไร้สายที่นิยมใช้อยู่ในย่านความถี่ไมโครเวฟ คือย่านจาก 1 จิกะเฮิรตซ์ ถึง 3 จิกะเฮิรตซ์ ช่วงความถี่ ไมโครเวฟนี้เป็นช่วงความถี่ที่เหมาะสม เพราะสามารถนำพาข้อมูลได้มาก การสื่อสารในย่านไมโครเวฟมีลักษณะเป็น เส้นตรง และมีปัญหาเรื่องสิ่งกีดขวาง ดังนั้นการสร้างเซลครอบคลุมพื้นที่จึงมีขอบเขตจำกัด
อย่างไรก็ดี ถึงแม้จะมีเซลสื่อสารจำนวนมากแล้วก็ตาม การมีอุปกรณ์สวิตซ์ซึ่งเชื่อมระหว่างเซลยังต้องอาศัยพัฒนาการ ทางด้านเครือข่าย เพื่อให้การใช้งานเป็นแนวทางเดียวกัน จึงมั่นใจว่าอนาคตอุปกรณ์การสวิตช์ข้อมูลบนเครือข่ายไร้สาย ก็ยังคงใช้โปรโตคอลของอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้เพราะอุปกรณ์สวิตช์ซึ่งแบบ IP จะมีราคาประหยัดสุด และมีประสิทธิภาพสูง การประยุกต์บน IP เป็นไปได้กว้างขวางทั้งข้อมูล ภาพและเสียง
หนทางในอนาคตจึงต้องใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายหลักหรือถนนหลัก และมีการสร้างเซลเล็ก ๆ เชื่อมกับ อินเทอร์เน็ตแม้แต่องค์กรขนาดเล็กก็สามารถตั้งเซลของตนเองได้ เพื่อว่าสมาชิกของตนสามารถใช้อินเทอร์เน็ตแบบ ไร้สาย
ในไม่ช้าเราคงพบผู้คนถือโทรศัพท์ ปาล์มทอป หรือโน้ตบุคที่มีเสาอากาศ เมื่อเดินทางไปที่สนามบินก็ติดต่อกับเซลที่ สนามบินสามารถโหลดข้อมูลการเข้าออกของเครื่องบิน สายการบิน เมื่อเดินทางไปธนาคารก็ติดต่อเซลของธนาคาร เมื่อมามหาวิทยาลัยก็ติดต่อกับเซลของมหาวิทยาลัย นิสิตนักศึกษาอาจใช้ปาล์มทอปเครื่องเดียว ก็สามารถโหลดหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์จากเซิร์ฟเวอร์ของสถาบันการศึกษาเพื่อนำมาศึกษาหรือโหลดไฟล์พาวเวอร์พอยต์ผ่านเครือข่ายไร้สายได้ เทคโนโลยีไร้สายจึงเป็นเทคโนโลยีที่น่าจับตาดูต่อไป

autorun

การป้องกันไวรัสและวิธีตรวจเช็คไวรัสเบืองต้นพร้อมวิธีเอามันออก
การป้องกันไวรัสและวิธีตรวจเช็คไวรัสเบืองต้นพร้อมวิธีเอามันออกทุกวันนี้สังคม internet สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคงไม่พ้น virus (ไวรัส) แน่นอนครับ ไวรัสน่ากั่ว แต่เราสามารถป้องกันมันได้ถ้าหาได้รู้อะไรดีๆวันนี้เลยคิด ที่จะเขียนทริปเล็กๆน้อยๆ จากประสบการณ์ของผมเอง ซึ้งเคยนั่งสอนลูกค้า อยู่หลายคนสิ่งแรกที่เราควรรู้
การป้องกันไวรัส1. อย่ากดไฟล์ที่เราเองไม่รู้จัก ไม่ว่าจะเป็นโฟเดอร์ หรือไฟล์แปลงๆ โดยเฉพราะ .exe - เพราะอะไร ? ไฟล์ที่ท่านใช้งานจิงๆท่านก็ควรรู้อยู่แล้วว่าเครื่องท่านหรือในไดร์นั้นๆมีอะไรที่ท่านเคยทำมาก่อน อย่าขี้สงสัย ผมเองยังติดไวรัสบ่อยๆเพราะขี้สงสัย2. การโหลดไฟล์จาก internet นั้น ต้องโหลดมาจากที่นาเชื่อถือได้ โดยเฉพราะไฟล์ที่เป็นตัว install (.exe) เพราะท่านจะได้แน่ใจว่าไม่เป็นไวรัส3. ให้ระลึกเสมอว่าไฟล์ตกูล .exe เป็นไฟล์ที่ เรียกใช้งาน ( Application ) เช่นไว้เปิดโปรแกรม install โปรแกรม หรืออาจเป็นตัว install virus(ไวรัส) ฉนั้นถ้าหาท่านเห็นกระทู้ แจกเพลงแจกคลิป แต่ไฟล์นั้นๆดันเป็น .exe ให้สัญนิฐานได้เลยว่าไวรัสแน่นอน ไฟล์หนังไฟล์เพลงจะไม่ .exe แน่นอนคับไฟล์เพลงจะมีก็เช่น mp3 mp4 wmv dat wma อื่นๆ 4. การจะกดตอบตกลงอะไรไปจาก popup ของหน้าต่าง ie นั้นให้สังเกตุและอ่านให้ดีๆ หากท่านอ่านไม่ออก ให้ยกเลิกไปเพราะนั้นอาจเป็นไวรัสกำลังเข้าเครื่องท่าน5.เฟรตไดร์ ธัมไดร์ แฮนดี้ไดร์ (แล้วแต่จะเรียก) เวลาเสียบพวกนี้ผ่าน usb port นั้นให้ท่านกด ship ที่คีบอร์ดค้างเอาไว้ เพื่อป้องกันการ auto run ของไวรัส
- autorun คืออะไร อธิบายง่ายๆ ท่านเคยเห็นแผ่นที่ใส่เข้าไปแล้วเล่นเองไหมครับ เช่น แผ่น driver หรือ windows เมื่อใส่ไปแล้วจะมีหน้าต่างเด่งขึ้นมา นั้นแหละคับเรียกว่า autorun การทำ autorun นั้น ทำไดง่ายๆเพียงสร้างไฟล์ AUTORUN.INF ข้างในมีแค่ 2-4 บรรทัดแล้วแต่จะให้แสดงอะไรยกตัวอย่างเช่น

ไฟล์ชื่อ AUTORUN.INF เมื่อเข้าไปจะพบ[autorun]open=setup.exe --- หมายถึง เมื่อใส่แผ่นเข้าไปหรือดับเบิ้ลคลิ๊กให้ไปเปิดไฟล์ setup.exe แทนที่จะเข้าไปแบบ Explorer icon=logo.ico -------- หมายถึง ให้ใช้ icon ของแผ่นนี้จากรูป logo.ico แค่นี้เมื่อเวลาใสแผ่นเข้าไปก็จะเกิดการ autorun หรือ autoplay แล้วไวรัสจะอาศัยช่องทางนี้ได้อย่างไร** ก็เพียงแต่สร้างเจ้า AUTORUN.INF เมื่อ ไว้ในเฟรตไดร์ท่าน แล้วสั่งให้เปิดไวรัสอีกตัวอธิบายให้เห็นภาพง่ายๆดังนี้
open=virus.exe --- หมายถึง เมื่อดับเบิ้ลคลิ๊ก หรือเสียบเฟรตไดร์ ก็จะสั่งให้เปิดไวรัสทันที แน่นอนครับติดทันที icon=logo.ico -------- ในส่วนนี้อาจจะไม่จำเป็นต้องให้มีรูป การป้องกันผมได้บอกไปแล้วข้างต้นว่า เวลาเสียบเฟรตไดร์ให้กด shift ค้างไว้ตอนเสียบไฟล์ autorun จะไม่ทำงานนะ และจงระลึกเสมอว่า อย่าซุกซน อย่าขี้สงสัย อย่ากดอะไรโดยไม่รู้การตรวจเช็ด ไวรัส (virus) และวิธีการกำจัดมันออกจากเครื่องเบื้องต้น1. ให้เปิด mode ของ folder option เกียวกับ file hiden และ file types และเปิด hide protected operating system files ทำได้โดยเปิดเข้าไปใน mycomputer กดที่เมนู tools > เลือก folder option จะได้ดังภาพ1.1 คือ การเปิดไฟล์ที่ซ่อนอยู่ให้แสดงออกมา1.2 คือเมื่อติ๊กถูกเราจะมองไม่เห็นสกุลของไฟล์เช่นไฟล์เพลง mp3 เราอาจเห็นแค่ชื่อเพลงเช่น มีเพียงเธอ.mp3 เมื่อติ๊กอยู่จะเห็นแค่ มีเพียงเธอ ถ้าเอาออกจะเห็นสกุลของไฟล์นั้นๆ ในที่นี้คือ มีเพียงเธอ.mp3 มีข้อดียังไงเมื่อเอาติ๊กถูกออก เพราะเราจะได้เห็นสกุลของไฟล์นั้นๆว่ามันเป็นสกุลอะไรกันแน่ มันเป็น .exe ไหมอย่างที่บอกไปในข้างต้นไฟล์ .exe น่าสงสัยว่าจะเป็นไวรัส ไวรัสบางตัวจะหลอกว่าเป็นโฟเดอร์ (ไอคอนสีเหลืองๆเหมือนโฟเดอร์) แต่เมื่อคลิ๊กเข้าไปแล้วปรากฏว่าเป็น .exe ตรงนี้จะช่วยท่านได้1.3 เมื่อท่านเอาติ๊กถูกที่นี้ออกท่านจะเห็นไฟล์ทุกอย่างที่ซ่อนเอาไว้รวมถึงไฟล์ของ system ไฟล์ต่างๆอาจเป็นไฟล์ที่ system ไม่ต้องการให้ท่านเห็นเพราะกั่วท่านจะลบทิ้งแล้วเกิดความเสียหายต่อระบบ แต่ยังมีไวรัสบางตัวที่ซ่อนไว้ในรูปแบบของ system files ให้ท่านเปิด mode นี้เพื่อตรวจสอบอีกทางหนึ่ง
การป้องกันไวรัสและวิธีตรวจเช็ค1. อย่ากดไฟล์ที่เราเองไม่รู้จัก ไม่ว่าจะเป็นโฟลเดอร์ หรือไฟล์แปลงๆ โดยเฉพาะ .exe- เพราะอะไร ? ไฟล์ที่ท่านใช้งานจริงๆท่านก็ควรรู้อยู่แล้วว่าเครื่ องท่านหรือในไดร์ฟนั้นๆ มีอะไรที่ท่านเคยทำมาก่อน อย่าขี้สงสัย ผมเองยังติดไวรัสบ่อยๆเพราะขี้สงสัย2. การโหลดไฟล์จาก internet นั้น ต้องโหลดมาจากที่นาเชื่อถือได้ โดยเฉพาะไฟล์ที่เป็นตัว install (.exe) เพราะท่านจะได้แน่ใจว่าไม่เป็นไวรัส3. ให้ระลึกเสมอว่าไฟล์ตระกูล .exe เป็นไฟล์ที่ เรียกใช้งาน ( Application ) เช่นไว้เปิดโปรแกรม install โปรแกรมหรืออาจเป็นตัว install virus(ไวรัส) ฉะนั้นถ้าหาท่านเห็นกระทู้ แจกเพลงแจกคลิป แต่ไฟล์นั้นๆดันเป็น .exe ให้สันนิษฐานได้เลยว่าไวรัสแน่นอน ไฟล์หนังไฟล์เพลงจะไม่ .exe แน่นอนคับไฟล์เพลงจะมีก็เช่น mp3 mp4 wmv dat wma อื่นๆ4. การจะกดตอบตกลงอะไรไปจาก popup ของหน้าต่าง ie นั้นให้สังเกตและอ่านให้ดีๆ หากท่านอ่านไม่ออก ให้ยกเลิกไปเพราะนั้นอาจเป็นไวรัสกำลังเข้าเครื่องท่ าน5.เฟรตไดร์ฟ ธัมไดร์ฟ แฮนดี้ไดร์ฟ (แล้วแต่จะเรียก) เวลาเสียบพวกนี้ผ่าน usb port นั้นให้ท่านกด ship ที่ คีบอร์ดค้างเอาไว้ เพื่อป้องกันการ auto run ของไวรัส- auto run คืออะไร อธิบายง่ายๆ ท่านเคยเห็นแผ่นที่ใส่เข้าไปแล้วเล่นเองไหมครับ เช่น แผ่น driver หรือ windows เมื่อใส่ไปแล้วจะมีหน้าต่างเด้งขึ้นมา นั้นแหละคับเรียกว่า auto run การทำ auto run นั้น ทำไดง่ายๆเพียงสร้างไฟล์ AUTORUN.INF ข้างในมีแค่ 2-4 บรรทัดแล้วแต่จะให้แสดงอะไรยกตัวอย่างเช่นไฟล์ชื่อ AUTORUN.INF เมื่อเข้าไปจะพบ[auto run]open=setup.exe --- หมายถึง เมื่อใส่แผ่นเข้าไปหรือดับเบิ้ลคลิกให้ไปเปิดไฟล์ setup.exe แทนที่จะเข้าไปแบบ Explorericon=logo.ico -------- หมายถึง ให้ใช้ icon ของแผ่นนี้จากรูป logo.icoแค่นี้เมื่อเวลาใสแผ่นเข้าไปก็จะเกิดการ auto run หรือ auto play แล้วไวรัสจะอาศัยช่องทางนี้ได้อย่างไร** ก็เพียงแต่สร้างเจ้า AUTORUN.INF เมื่อ ไว้ในเฟรตไดร์ฟท่าน แล้วสั่งให้เปิดไวรัสอีกตัวอธิบายให้เห็นภาพง่ายๆดัง นี้open=virus.exe --- หมายถึง เมื่อดับเบิ้ลคลิก หรือเสียบเฟรตไดร์ฟ ก็จะสั่งให้เปิดไวรัสทันที แน่นอนครับติดทันทีicon=logo.ico -------- ในส่วนนี้อาจจะไม่จำเป็นต้องให้มีรูปการป้องกันผมได้บอกไปแล้วข้างต้นว่า เวลาเสียบเฟรตไดร์ฟให้กด shift ค้างไว้ตอนเสียบไฟล์ auto run จะไม่ทำงานนะครับและจงระลึกเสมอว่า อย่าซุกซน อย่าขี้สงสัย อย่ากดอะไรโดยไม่รู้--------------------- นี้เป็นเพียงการป้องกันไวรัสเบื้องต้นนะครับ -----------------------การตรวจเช็ด ไวรัส (virus) และวิธีการกำจัดมันออกจากเครื่องเบื้องต้น1. ให้เปิด mode ของ folder option (หากไม่มี folder option ก็สันนิษฐานได้ว่าติดไวรัสเสียแล้วครับ)เกี่ยวกับ file hiden และ file types และเปิด hide protected operating system files ทำได้โดยเปิดเข้าไปใน mycomputer กดที่เมนู tools > เลือก folder option จะได้ดังภาพhttp://www.vcharkarn.com/uploads/95/95927.jpg1.1 คือ การเปิดไฟล์ที่ซ่อนอยู่ให้แสดงออกมา1.2 คือเมื่อติ๊กถูกเราจะมองไม่เห็นสกุลของไฟล์เช่นไฟล์เ พลง mp3 เราอาจเห็นแค่ชื่อเพลงเช่น มีเพียงเธอ.mp3 เมื่อติ๊กอยู่จะเห็นแค่ มีเพียงเธอ ถ้าเอาออกจะเห็นสกุลของไฟล์นั้นๆ ในที่นี้คือ มีเพียงเธอ.mp3 มีข้อดียังไงเมื่อเอาติ๊กถูกออก เพราะเราจะได้เห็นสกุลของไฟล์นั้นๆว่ามันเป็นสกุลอะไ รกันแน่ มันเป็น .exe ไหมอย่างที่บอกไปในข้างต้นไฟล์ .exe น่าสงสัยว่าจะเป็นไวรัส ไวรัสบางตัวจะหลอกว่าเป็นโฟเดอร์ (ไอคอนสีเหลืองๆเหมือนโฟเดอร์) แต่เมื่อคลิ๊กเข้าไปแล้วปรากฏว่าเป็น .exe ตรงนี้จะช่วยท่านได้1.3 เมื่อท่านเอาติ๊กถูกที่นี้ออกท่านจะเห็นไฟล์ทุกอย่าง ที่ซ่อนเอาไว้รวมถึง ไฟล์ของ system ไฟล์ต่างๆอาจเป็นไฟล์ที่ system ไม่ต้องการให้ท่านเห็นเพราะกั่วท่านจะลบทิ้งแล้วเกิด ความเสียหายต่อระบบ แต่ยังมีไวรัสบางตัวที่ซ่อนไว้ในรูปแบบของ system files ให้ท่านเปิด mode นี้เพื่อตรวจสอบอีกทางหนึ่ง

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความก้าวหน้าของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

อินเตอร์เน็ตคืออะไร

ในสังคมยุคข่าวสารเช่นปัจจุบันนี้ แทบจะไม่มีใครไม่เคยได้ยินคำว่า “อินเตอร์เน็ต” เหตุเพราะอินเตอร์เน็ตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนจำนวนมากในโลกนี้ไปแล้ว ประมาณกันว่าในแต่ละวันมีผู้คนมากกว่า 50 ล้านคนในประเทศต่างๆ กว่า 150 ประเทศทั่วโลกกำลังใช้อินเตอร์เน็ตกันอยู่ อาจเป็นนักศึกษาคนหนึ่งในประเทศออสเตรเลียที่กำลังสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษ หรือเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นกำลังสั่งซื้อหนังสือจากประเทศไทย เป็นต้น การประกอบกิจกรรมต่างๆ ในอินเตอร์เน็ตดังที่ได้กล่าวมานี้ เป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นภาพของการสื่อสารที่ไร้พรมแดนได้อย่างชัดเจน
การใช้อินเตอร์เน็ตในปัจจุบันได้ขยายวงกว้างออกไปมากขึ้น โดยได้ก้าวล่วงเข้าไปในทุกสาขาอาชีพ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะด้านการศึกษาหรือการวิจัยเหมือนเมื่อเริ่มมีการใช้อินเตอร์เน็ตใหม่ๆ ด้วยคุณสมบัติการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ ทำให้อินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาขององค์กรทั้งหลาย ได้มีความพยายามนำอินเตอร์เน็ตมาใช้เพื่อประโยชน์สำหรับหน่วยงานของตนในรูปแบบต่างๆ อาทิ การประชาสัมพันธ์องค์กร การโฆษณาสินค้า การค้าขาย การติดต่อสื่อสาร ฯลฯ นอกจากนี้อินเตอร์เน็ตยังกลายเป็นอีกสื่อหนึ่งของความบันเทิงภายในครอบครัวไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือพิมพ์ก็ตาม ล้วนแล้วแต่สามารถกระทำผ่านอินเตอร์เน็ตได้ทั้งสิ้น
1. ความหมายของอินเตอร์เน็ต
“อินเตอร์เน็ต” มาจากคำว่า International Network เป็นเครือข่ายของการสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ อันประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน
คำว่า “เครือข่าย” หมายถึง
1. การที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล (ทางตรง) และหรือสายโทรศัพท์ (ทางอ้อม)
2. มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์
3. มีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน
2. หน้าที่และความสำคัญของอินเตอร์เน็ต
การสื่อสารในยุคปัจจุบันที่กล่าวขานกันว่าเป็นยุคไร้พรมแดนนั้น การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของทุกหน่วยงาน และอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวได้ จึงเป็นความจำเป็นที่ทุกคนต้องให้ความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่นี้ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างเต็มที่
อินเตอร์เน็ต ถือเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สากลที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ภายใต้มาตรฐานการสื่อสารเดียวกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารและสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่ายต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้น อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งรวมสารสนเทศจากทุกมุมโลก ทุกสาขาวิชา ทุกด้าน ทั้งบันเทิงและวิชาการ ตลอดจนการประกอบธุรกิจต่างๆ
เหตุผลสำคัญที่ทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมแพร่หลายคือ
1. การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต ไม่จำกัดระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่ต่างระบบปฏิบัติการกันก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
2. อินเตอร์เน็ตไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง ไม่ว่าจะอยู่ภายในอาคารเดียวกันห่างกันคนละทวีป ข้อมูลก็สามารถส่งผ่านถึงกันได้
3. อินเตอร์เน็ตไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งมีได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความอย่างเดียว หรืออาจมีภาพประกอบ รวมไปถึงข้อมูลชนิดมัลติมีเดีย คือมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบด้วยได้ คำอื่นที่ใช้ในความหมายเดียวกับอินเตอร์เน็ต คือ Information Superhighway และ Cyberspace
3. อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
ประเทศไทยได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตในพ.ศ. 2535 โดยเริ่มที่สำนัก วิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ 2 วงจร หน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรกๆ ได้แก่สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอื่นๆ
สำหรับภาคเอกชน ได้มีการก่อตั้งบริษัทสำหรับให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่เอกชนและบุคคลทั่วไปที่นิยมเรียกกันว่า ISP (Internet Service Providers) หลายราย เช่น ศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตแห่งประเทศไทย (Internet Thailand) บริษัทเคเอสซีคอมเมอร์เชียลอินเตอร์เน็ตจำกัด (Internet KSC) บริษัทล็อกซเลย์อินฟอร์เมชันจำกัด (Loxinfo) เป็นต้น โดยในการพิจารณาเลือกใช้บริการจาก ISP เอกชนเหล่านี้ สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ
1. อัตราค่าใช้จ่ายโดยรวม ทั้งค่าสมัครเป็นสมาชิกและค่าใช้จ่ายเป็นรายครั้ง รายเดือน หรือรายปี
2. คำนวนคู่สายโทรศัพท์ ว่ามีให้ใช้ติดต่อมากเพียงพอหรือไม่ เพราะถ้ามีไม่มากก็จะเสียเวลารอคอยนานกว่าจะเชื่อมต่อได้
3. ความเร็วของสายที่ใช้
4. พื้นที่ในการให้บริการ ควรเลือกใช้ ISP ที่อยู่ในจังหวัด หรือพื้นที่ใกล้เคียงจะเหมาะสมกว่า เพราะ ISP ส่วนใหญ่มักให้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร

ความก้าวหน้าของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

พ.ศ. 2530 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้ริเริ่มโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยขึ้น เพื่อเชื่อมโยงศูนย์คอมพิวเตอร์ของหลายมหาวิทยาลัยเข้าด้วยกันด้วยระบบสื่อสารแบบ X.25 และให้ทุนอุดหนุนการจัดทำข้อมูลบัตรรายการห้องสมุดแก่สถาบันต่างๆจำนวนมาก [1] นับว่าเป็นการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงภายในประเทศ แต่ไม่มีการเชื่อมต่อกัยอินเทอร์เน็ต
ในปีเดียวกันมีการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย เป็นครั้งแรก โดยได้รับความช่วยเหลือจากประเทศออสเตรเลีย และเริ่มใช้งานที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (เดือนมิถุนายน) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ทั้งนี้เชื่อมต่อเป็นการใช้โมเด็มต่อผ่านสายโทรศัพท์ ต่อมามีคณาจารย์จากสถาบันอื่นๆเข้าร่วมอีกหลายท่าน เช่น จากธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ รามคำแหง นิด้า และอัสสัมชัญ [1,2] ในการทำงาน ทางมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นเป็นผู้โทรเข้ามาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยวันละสองครั้งเพื่อแลก “ถุงไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์” และเขาเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายช่วยเรา [3,4]
พ.ศ. 2534 อินเทอร์เน็ตทั่วโลกมีเครือข่ายต่างๆเชื่อมกันประมาณ 5,000 เครือข่าย ซึ่งประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันประมาณ 700,000 เครื่อง และมีผู้ใช้งานประมาณ 4,000,000 คน ในกว่า 36 ประเทศ [10]
พ.ศ. 2535 ได้มีการจัดตั้งเครือข่ายไทยสารขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ โดยเนคเทค ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆเช่นมหาวิทยาลัยและบริษัทเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์แรกคือการทำให้นักวิชาการไทยทั้งจากภาครัฐและเอกชนสามารถแลกเปลี่ยนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กันได้ทั่วโลก ทั้งนี้มีคณะทำงานจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (NECTEC Email Working Group หรือ NEWgroup) เป็นผู้ช่วยกันพัฒนา และมีผู้ใช้แรกเริ่มเพียง 28 ท่าน จาก 20 หน่วยงาน โดยใช้คอมพิวเตอร์ 8 เครื่อง เชื่อมต่อกันผ่านสายโทรศัพท์ โดยใช้ซอฟต์แวร์ UUCP และ MHSNet [2] โดยในเดือนเมษายน ประเทศไทยมีรหัสอักขระมาตรฐานประกาศในร่างมาตรฐาน ISO-10646 และในเดือนกรกฎาคมประเทศไทยได้เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มเวลา (ผ่านวงจรเช่าต่างประเทศ ระหว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและบริษัท UUNET) ด้วยความเร็ว 9,600 บิต/วินาที และในเดือนธันวาคม มีสถาบันไทยรวม 6 แห่ง ที่เชื่อมโยงกันด้วยวงจรเช่าแบบถาวรเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้คลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน ได้แก่ เนคเทค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย) [1]
พ.ศ. 2536 เนคเทคเปิดใช้วงจรต่างประเทศความเร็วปานกลาง (64kbps) ขึ้นเป็นวงจรแรก เพื่อทำให้ผู้ใช้ทั้งหมดในประเทศไทยได้รับและส่งข้อมูลได้โดยสะดวกยิ่งขี้น และในเดือนสิงหาคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ได้ปรับปรุงวงจร 9,600 bps เป็น 64kbps ด้วย ในเดือนสิงหาคม ได้มีการเริ่มนำระบบ Linux Operating System เข้ามาใช้งานเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และเดือนตุลาคม ได้เปิดบริการ WWW เป็นครั้งแรกในประเทศไทยเช่นเดียวกัน คือ www.nectec.or.th ซึ่งทำหน้าที่แนะนำประเทศไทยให้กับทั่วโลกเป็นภาษาอังกกฤษ ภายใต้ชื่อ Thailand the Big Picture และเปิดบริการอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 7 ปีจนถึงปัจจุบัน [1] ในปีนั้น เครือข่ายไทยสารมีหน่วยงานเชื่อมต่ออย่างถาวรรวม 19 หน่วยงาน [3]
พ.ศ. 2537 เป็นปีที่ประเทศไทยนำเครื่องคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงสองเครื่อง ต่อเข้ากับเครือข่ายไทยสาร-อินเทอร์เน็ต เครื่องแรก คือ MasPar ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (เดือนกุมภาพันธ์) และเครื่องที่สอง คือ Cray Supercomputer รุ่น EL98 (เดือนพฤษภาคม) และในเดือนกรกฎาคม ได้มีการสาธิตการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 2 ล้านบิตต่อวินาที ระหว่างเนคเทค กับงานวันสื่อสารแห่งชาติ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในเดือนกรกฎาคม เพื่อสาธิตระบบมัลติมีเดียและการประชุมทางไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (IP Video Conference) ในปีนี้ เครือข่ายไทยสารได้เชื่อมโยงสถาบันอุดมศึกษาได้ 34 แห่ง ใน 27 สถาบัน [1] และ [3]
พ.ศ. 2538 เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเปิดศักราชด้วยการที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้เปิดบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ โดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ก่อตั้งบริษัทอินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (การร่วมทุนระหว่างเนคเทค/สวทช. กับ กสท. และ ทศท.) เป็นผู้ให้บริการรายแรก ซึ่งได้มีการเริ่มบริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มีนาคม 2538 และตั้งแต่เดือนมิถุนายนก็เริ่มมีผู้ให้บริการอื่นเริ่มได้รับอนุญาตให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ถูกกฎหมาย ในเดือนมีนาคมปีนี้ ก็เป็นการเริ่มโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย หรือ SchoolNet โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการรุ่นแรก 30 โรงเรียน
การใช้อินเทอร์เน็ตหลังจากปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา เริ่มเป็นที่แพร่หลายและเป็นข่าวออกสู่หน้าหนังสือพิมพ์เป็นประจำ และค่อนข้างจะหาเอกสารอ้างอิงต่างๆได้ง่าย อย่างไรก็ดี ก็มีเหตุการณ์ต่างๆที่ควรแก่การบันทึกดังนี้
มีนาคม 2538 องค์กรเอกชนที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอย่างถาวรด้วยความเร็ว 64kbps รายแรก คือ ธนาคารไทยพาณิชย์
มิถุนายน 2538 มีการขยายวงจรต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในขณะนั้น คือ 512kbps โดยศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตประเทศไทย และในเดือนเดียวกัน ได้มีการรายงานผลการเลือกตั้งทางอินเทอร์เน็ต โดย นสพ.บางกอกโพสต์ร่วมกับเนคเทค
กันยายน 2538 ประเทศไทยเปิดใช้วงจรอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระหว่างประเทศ 2 ล้านบิตต่อวินาทีเป็นวงจรแรกของ วงจรนี้เชื่อมเนคเทคกับNACSIS (National Center for Science Information Systems) ในประเทศญี่ปุ่น เป็นความร่วมมือเพื่อการศึกษาวิจัย โดยสถาบันเป็นสมาชิกเครือข่ายไทยสารทุกแห่งสามารถเข้าถึงสถาบันต่างๆในญี่ปุ่นได้จากวงจรนี้ได้

กุมภาพันธ์ 2539 ประเทศไทยเริ่มเปิดใช้วงจรความเร็วสูงเพื่ออินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก โดยศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตประเทศไทยเป็นผู้ลงทุนเชื่อมระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกาโดยผ่านเคเบิลใยแก้วนำแสง ทั้งนี้เป็นการลงทุนเพื่อทำให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอด เอเซีย-ยุโรป พร้อมกับบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้แก่ผู้สื่อข่าวจากทั่วโลก และบุคคลสำคัญได้อย่างเต็มภาคภูมิ [5]
วันที่ 5 ธันวาคม 2539 เวลา 9.09 น. ได้มีการเปิดบริการข้อมูลเครือข่ายกาญจนาภิเษก ตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ http://kanchanapisek.or.th เพื่อเป็นการนำเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และผลงานของหน่วยงานต่างๆกว่าสิบหน่วยงาน ที่ทำงานสนองพระราชดำริ รวมถึงกิจกรรมด้านเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ พัฒนาสังคมต่างๆ และในโอกาสต่อมา ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2540 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดเครือข่ายกระจายความรู้แก่ประชาชน ให้บุคคลทั่วไป เข้าถึงข้อมูลเครื่อข่ายกาญจนาภิเษกได้ผ่านเลขหมายออนไลน์ 1509 ได้จากทุกแห่งในประเทศไทยโดยไมต้องเสียค่าสมาชิกและค่าโทรศัพท์ทางไกล [1] เครือข่ายนี้ ต่อมาได้รับพระราชานุญาตให้นำมาใช้เป็น access network สำหรับโรงเรียนทั่วประเทศในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย โดยทรงเปิดเครือข่ายใหม่ ที่เชื่อมเครือข่ายกระจายความรู้ฯ กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทยเข้าด้วยกัน เรียกว่า SchoolNet@1509 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2541 [6] ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่จัดระบบอินเทอร์เน็ตฟรีให้แก่โรงเรียนทั่วประเทศ เพื่อลดความด้อยโอกาสของโรงเรียนที่อยู่ในชนบท ก่อนที่จะมีการกล่าวถึงคำว่า “digital divide” ในเวทีนานาชาติ
พ.ศ. 2542 แม้ว่าเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว และในวงการคอมพิวเตอร์ต่างก็ต้องกังวลเรื่องการแก้ปัญหา Y2K แต่จัดได้ว่าเป็นปีแห่งการเพิ่มความเร็วของวงจรอินเทอร์เน็ตต่างประเทศ ในเดือนมกราคม มีวงจรต่างประเทศระดับ 8 ล้านบิตต่อวินาทีถึงสองวงจร คือของอินเทอร์เน็ตประเทศไทย และของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทั้งสองวงจรเป็นวงจรใยแก้วคุณภาพสูง ในเดือนเมษายน มีเพิ่มอีกหนึ่งวงจร คือของ KSC (เป็นวงจรดาวเทียม 8 Mbps) และในเดือนตุลาคม KSC เป็นรายแรกที่เปิดใช้วงจรต่างประเทศขนาด 34 Mbps (เป็นวงจรดาวเทียม แบบ Simplex คือ ส่งข้อมูลเข้าประเทศไทยทิศทางเดียว) เมื่อถึงสิ้นปี ประเทศไทยมีวงจรต่างประเทศรวมทั้งสิ้น 118.25 Mbps [8]
พ.ศ. 2543 ซึ่งเริ่มเป็นปีที่เงินบาทเริ่มคงตัว และหนี้ที่ไม่ก่อรายได้ (NPL) เริ่มลดลง การเพิ่มความเร็วของอินเทอร์เน็ตทั้งในประเทศและระหว่างประเทศได้เพิ่มความเข้มข้นยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากสถิติเปรียบเทียบดังนี้
จะเห็นได้ชัดว่า ในต้นปี 2543 ความเร็วของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพิ่มขึ้นถึง 209% (คือเพิ่มเป็นสามเท่า) จากเดือนเดียวกันในปี 2542 ส่วนในเดือนมกราคม 2544 เป็นการเพิ่มเป็นสองเท่าจากในปี 2542 สำหรับอัตราการเพิ่มของการไหลเวียนข้อมูลในประเทศ ก็มีการเพิ่มขึ้นด้วยอัตราที่สูงกว่าปีละ 160% ทั้งสามปีติดต่อกันดังตารางข้างล่าง

ไวรัสคอมพิวเตอร์

ไวรัสคอมพิวเตอร์
ไวรัสคอมพิวเตอร์ (computer virus) หรือเรียกสั้นว่า ไวรัส คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บุกรุกเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ ส่วนมากมักจะมีประสงค์ร้ายและสร้างความเสียหายให้กับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ

ในเชิงเทคโนโลยีความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์นั้น ไวรัสเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำสำเนาของตัวเอง เพื่อแพร่ออกไปโดยการสอดแทรกตัวสำเนาไปในรหัสคอมพิวเตอร์ส่วนที่สามารถปฏิบัติการได้หรือข้อมูลเอกสาร ดังนั้นไวรัสคอมพิวเตอร์จึงมีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกับไวรัสในทางชีววิทยา ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตในลักษณะเดียวกันนี้ คำอื่นๆ ที่ใช้กับไวรัสในทางชีววิทยายังขยายขอบข่ายของความหมายครอบคลุมถึงไวรัสในทางคอมพิวเตอร์ เช่น การติดไวรัส (infection) แฟ้มข้อมูลที่ติดไวรัสนี้จะเรียกว่า โฮสต์ (host) ไวรัสนั้นเป็นประเภทหนึ่งของโปรแกรมประเภทมัลแวร์ (malware) หรือโปรแกรมที่มีประสงค์ร้าย ในความหมายที่ใช้กันทั่วไปนั้น ไวรัสยังใช้หมายรวมถึง เวิร์ม (worm) ซึ่งก็เป็นโปรแกรมอีกรูปแบบหนึ่งของมัลแวร์ ซึ่งบางครั้งก็ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์นั้นสับสนเมื่อคำไวรัสนั้นใช้ในความหมายที่เฉพาะเจาะจง คอมพิวเตอร์ไวรัสนั้นโดยทั่วไปจะไม่ส่งผลก่อให้เกิดความเสียหายต่อฮาร์ดแวร์โดยตรง แต่จะทำความเสียหายต่อซอฟต์แวร์

ในขณะที่ไวรัสโดยทั่วไปนั้นก่อให้เกิดความเสียหาย (เช่น ทำลายข้อมูล) แต่ก็มีหลายชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย เพียงแต่ก่อให้เกิดความรำคาญเท่านั้น ไวรัสบางชนิดนั้นจะมีการตั้งเวลาให้ทำงานเฉพาะตามเงื่อนไข เช่น เมื่อถึงวันที่ที่กำหนด หรือเมื่อทำการขยายตัวได้ถึงระดับหนึ่ง ซึ่งไวรัสเหล่านี้จะเรียกว่า บอมบ์ (bomb) หรือระเบิด ระเบิดเวลาจะทำงานเมื่อถึงวันที่ที่กำหนด ส่วนระเบิดเงื่อนไขนั้นจะทำงานเมื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีการกระทำเฉพาะซึ่งเป็นตัวจุดชนวน ไม่ว่าจะเป็นไวรัสชนิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ก็ตาม ก็จะมีผลเสียที่เกิดจากการแพร่ขยายตัวของไวรัสอย่างไร้การควบคุม ซึ่งจะเป็นการบริโภคทรัพยากรคอมพิวเตอร์อย่างไร้ประโยชน์ หรืออาจจะบริโภคไปเป็นจำนวนมาก

เนื้อหา
1 คำจำกัดความ
2 ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์
2.1 บูตไวรัส
2.2 ไฟล์ไวรัส
2.3 มาโครไวรัส
2.4 หนอน
2.5 อื่นๆ
2.5.1 โทรจัน
3 ประวัติ
4 ดูเพิ่ม
5 อ้างอิง


คำจำกัดความ
ไวรัสเป็นโปรแกรมประเภทที่สามารถแพร่ขยายตัวเองได้ วิธีการในการจำแนกว่าส่วนของโปรแกรมนั้นเป็นไวรัสหรือไม่ นั้นดูจากการที่โปรแกรมสามารถแพร่กระจายตัวได้โดยผ่านทางพาหะ (โฮสต์)

บ่อยครั้งที่ผู้คนจะสับสนระหว่างไวรัสกับเวิร์ม เวิร์มนั้นจะมีลักษณะของการแพร่กระจายโดยไม่ต้องพึ่งพาหะ ส่วนไวรัสนั้นจะสามารถแพร่กระจายได้ก็ต่อเมื่อมีพาหะนำพาไปเท่านั้น เช่น ทางเครือข่าย หรือทางแผ่นดิสก์ โดยไวรัสนั้นอาจฝังตัวอยู่กับแฟ้มข้อมูล และเครื่องคอมพิวเตอร์จะติดไวรัสเมื่อมีการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลนั้น

เนื่องจากไวรัสในปัจจุบันนี้ได้อาศัยบริการเครือข่ายบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เวิลด์ไวด์เว็บ อีเมล และระบบแฟ้มข้อมูลร่วมในการแพร่กระจายด้วย จึงทำให้ความแตกต่างของไวรัสและเวิร์มในปัจจุบันนั้นไม่ชัดเจน

ไวรัสสามารถติดพาหะได้หลายชนิด ที่พบบ่อยคือ แฟ้มข้อมูลที่สามารถปฏิบัติการได้ของซอฟต์แวร์ หรือส่วนระบบปฏิบัติการ ไวรัสยังสามารถติดไปกับบู๊ตเซคเตอร์ของแผ่นฟลอปปี้ดิสก์ แฟ้มข้อมูลประเภทสคริปต์ ข้อมูลเอกสารที่มีสคริปต์มาโคร นอกเหนือจากการสอดแทรกรหัสไวรัสเข้าไปยังข้อมูลดั้งเดิมของพาหะแล้ว ไวรัสยังสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเดิมในพาหะ และอาจทำการแก้ไขให้รหัสไวรัสถูกเรียกขึ้นมาทำงานเมื่อพาหะถูกเรียกใช้งาน

ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์
บูตไวรัส
บูตไวรัส (boot virus) คือไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่เข้าสู่เป้าหมายในระหว่างเริ่มทำการบูตเครื่อง ส่วนมาก มันจะติดต่อเข้าสู่แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ระหว่างกำลังสั่งปิดเครื่อง เมื่อนำแผ่นที่ติดไวรัสนี้ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ไวรัสก็จะเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ตอนเริ่มทำงานทันที

บูตไวรัสจะติดต่อเข้าไปอยู่ส่วนหัวสุดของฮาร์ดดิสก์ ที่มาสเตอร์บูตเรคคอร์ด (master boot record) และก็จะโหลดตัวเองเข้าไปสู่หน่วยความจำก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะเริ่มทำงาน ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

ไฟล์ไวรัส
ไฟล์ไวรัส (file virus) ใช้เรียกไวรัสที่ติดไฟล์โปรแกรม เช่นโปรแกรมที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต นามสกุล.exe โปรแกรมประเภทแชร์แวร์เป็นต้น

มาโครไวรัส
มาโครไวรัส (macro virus) คือไวรัสที่ติดไฟล์เอกสารชนิดต่างๆ ซึ่งมีความสามารถในการใส่คำสั่งมาโครสำหรับทำงานอัตโนมัติในไฟล์เอกสารด้วย ตัวอย่างเอกสารที่สามารถติดไวรัสได้ เช่น ไฟล์ไมโครซอฟท์เวิร์ด ไมโครซอฟท์เอ็กเซล เป็นต้น

หนอน
หนอน (Worm) เป็นรูปแบบหนึ่งของไวรัส มีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงที่สุดในบรรดาไวรัสทั้งหมด สามารถกระจายตัวได้รวดเร็ว ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่าหนอนนั้น คงจะเป็นลักษณะของการกระจายและทำลาย ที่คล้ายกับหนอนกินผลไม้ ที่สามารถกระจายตัวได้มากมาย รวดเร็ว และเมื่อยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น ระดับการทำลายล้างยิ่งสูงขึ้น

อื่นๆ
โทรจัน
ม้าโทรจัน (Trojan) คือโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทำการบางอย่าง ในเครื่องของเรา จากผู้ที่ไม่หวังดี ชื่อเรียกของโปรแกรมจำพวกนี้ มาจากตำนานของม้าไม้แห่งเมืองทรอยนั่นเอง ซึ่งการติดนั้น ไม่เหมือนกับไวรัส และหนอน ที่จะกระจายตัวได้ด้วยตัวมันเอง แต่โทรจัน (คอมพิวเตอร์)จะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล์ หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน และสุดท้ายที่มันต่างกับไวรัสและเวิร์ม คือ มันจะสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เราเป็นผู้รับมันมาโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง

ประวัติ
ในปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1969) ทีมวิศวกรของ Bell Telephone Laboratories ได้สร้างเกมชื่อว่า "Darwin" ถือเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัวแรกที่มีรูปแบบของไวรัส โดยฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำ เกมนี้ใช้คำศัพท์บางอย่างที่มีคำว่า "supervisor" มีลักษณะที่กำหนดกฎเกณฑ์การต่อสู้ระหว่างผู้เข้าแข่งขัน โปรแกรม Darwin นี้มีความสามารถที่จะวิจัยสภาพแวดล้อมของมัน ทำสำเนา และทำลายตัวเองได้ จุดประสงค์หลักของเกมนี้ก็คือลบโปรแกรมทั้งหมดที่คู่แข่งเขียนและครอบครองสนามรบ

ต้นปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) มีการตรวจพบไวรัส Creeper ในเครือข่าย APRAnet ของทหารอเมริกา ถือเป็นต้นแบบไวรัสคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน โปรแกรม Creeper สามารถเข้าครอบครองเครือข่ายผ่านโมเด็มและส่งสำเนาตัวเองไปที่ฝั่ง remote ไวรัสนี้ทำให้คนรู้ว่าติดไวรัสด้วยการ broadcast ข้อความ "I'M THE CREEPER ... CATCH ME IF YOU CAN"

ปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) โปรแกรมชื่อ "Rabbit" โผล่ขึ้นมาบนเครื่องเมนเฟรมที่เรียกชื่อนี้เพราะมันไม่ได้ทำอะไรนอกจากสำเนาตัวเองอย่างรวดเร็วไปในระบบเก็บข้อมูลชนิดต่างๆ Rabbit นี้ได้ดึงทรัพยากรของระบบมาใช้อย่างมาก ทำให้การทำงานกระทบอย่างรุนแรงจนอาจทำให้ระบบทำงานผิดพลาดได้

ปี พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) มีการตรวจพบไวรัสชื่อ "Elk Cloner" นั้นเป็นคอมพิวเตอร์ไวรัสบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตัวแรก ซึ่งแพร่กระจาย คือในวงที่กว้างออกไปกว่าภายในห้องทดลองที่สร้างโปรแกรม โปรแกรมนี้ถูกเขียนขึ้นโดย Rich Skrenta โดยไวรัสนี้จะติดไปกับระบบปฏิบัติการ Apple DOS 3.3 ผ่านทาง boot sector ของฟล็อปปี้ดิสก์ ณ เวลานั้นผลของมันทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางคนนึกว่าไวรัสคอมพิวเตอร์เกิดจากมนุษย์ต่างดาว เพราะทำให้การแสดงภาพที่จอกลับหัว, ทำตัวอักษรกระพริบ, ขึ้นข้อความต่างๆออกมา

ปี พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) Len Adleman แห่งมหาวิทยาลัย Lehigh ตั้งคำว่า "Virus" ว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำสำเนาตัวเองได้ และในปีถัดมาใน Information security conference ครั้งที่ 7 Fred Cohen ได้ให้คำจำกัดความของคำ "computer virus" ว่าเป็นโปรแกรมที่สามารถติดต่อไปยังโปรแกรมอื่นโดยการแก้ไขโปรแกรมเดิมเพื่อแพร่ขยายตัวเอง

เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) Fred Cohen บิดาแห่งไวรัสศาสตร์ (Virology) ได้ใช้คอมพิวเตอร์ VAX 11/750 สาธิตว่าโปรแกรมไวรัสสามารถฝังตัวเข้าไปใน object อื่นได้

ปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) ไวรัสตัวคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆ สร้างโดยโปรแกรมเมอร์อายุ 19 ปี ชาวปากีสถาน ชื่อ Basit Farooq และพี่ชายชื่อ Amjad เรียกชื่อ "Brain" ที่มีเป้าไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ IBM Compatible ด้วยเหตุผลที่ว่าต้องการรู้ระดับของซอฟต์แวร์เถื่อนในประเทศตัวเอง แต่โชคไม่ดีที่การทดลองนี้หลุดออกมานอกประเทศ

ปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) โปรแกรมเมอร์ชาวเยอรมันชื่อ Ralf Burger พบวิธีตรวจจับโปรแกรมที่ copy ตัวเองโดยการเพิ่ม code บางตัวเข้าไปใน ไฟล์ COM version ที่ใช้ทดลองชื่อ Virdem ถูกนำมาแสดงในเดือนธันวาคม ที่ Hamburg เป็น forum ที่เหล่า hacker ที่ชำนาญในการ crack ระบบ VAX/VMS มารวมตัวกันชื่อ "Chaos Computer Club"

ปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) เกิดไวรัสระบาดที่ เวียนนา เป็นไวรัสที่ทำลายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตัวแรกที่ทำงานเต็มระบบ ส่งผลกระทบไปเกือบทั่วโลก ที่มาของไวรัสนี้เป็นประเด็นถกเถียงกันมาก เพราะคนที่อ้างว่าเป็นคนเขียนคือ Franz Svoboda แต่เมื่อสืบไปจึงพบว่าเขารับมาจาก Ralf Burger ซึ่งก็อ้างว่ารับมาจาก Svoboda เดิมชื่อไวรัสคือ "lovechild" แต่เพราะไม่สามารถหาคนให้กำเนิดได้จึงถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า "orphan" (ลูกกำพร้า)

ปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) เดือนธันวาคม เกิดการระบาดใต้ดินครั้งแรกในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ชื่อ "Christmas Three" วันที่ 9 ไวรัสหลุดมาจาก เครือข่าย Bitnet ของมหาวิทยาลัย Western University ประเทศเยอรมนี ทะลุเข้าไปใน European Acadamic Research Network (EARN) และเข้าไป เครือข่าย IBM-Vnet เป็นเวลา 4 วัน เครื่องที่ติดไวรัสจะแสดงผลที่หน้าจอเป็นรูปต้นคริสต์มาสต์ และส่งไปให้ผู้ใช้อื่นๆในเครือข่าย

ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) Peter Norton programmer ที่มีชื่อเสียง ผู้ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Symantec ได้ออกมาประกาศว่าไวรัสคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องไร้สาระ โดยเปรียบว่าเป็นแค่จระเข้ที่อยู่ในท่อระบายน้ำเสียในนิวยอร์ก แต่ในที่สุดเขาเป็นผู้ที่ได้เริ่มต้น project Norton-AntiVirus

ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) วันที่ 22 เดือนเมษายน เกิด forum ที่ถกกันเรื่อง security threat เป็นครั้งแรก ชื่อ Virus-L host ไว้ที่ Usebet สร้างโดย Ken Van Wyk เพื่อร่วมงานของ Fred Cohen ที่มหาวิทยาลัย Lehigh

ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) เดือนตุลาคม มีการแพร่ข่าวไวรัสชื่อ Mr. "Rochenle" อย่างมากเป็นไวรัสประเภทหลอกลวง (HOAX) เป็นตัวแรก อ้างถึงชื่อบุคคลที่ไม่มีตัวตนชื่อ Mike RoChenle ("Microchannel") อ้างว่าไวรัสนี้สามารถส่งตัวเองไประหว่างโมเด็มด้วยความเร็ว 2400 bps ทำให้ความเร็วโมเด็มลดลงเหลือ 1200 bps และได้อธิบายวิธีการแก้ไขที่ไม่ได้มีผลอะไร แต่มีคนหลงเชื่อทำตามกันอย่างมากมาย

ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) เดือนพฤศจิกายน มีหนอนเครือข่ายชื่อ "Morris" ระบาดอย่างหนักทำให้คอมพิวเตอร์กว่า 6000 เครื่องในอเมริการวมทั้งใน ศูนย์วิจัยของ NASA ติดไปด้วย ส่งผลกระทบให้การปฏิบัติงานหยุดโดยสิ้นเชิง เหตุเนื่องจากมี error ใน code ของ Morris ทำให้มัน copy ตัวเองไปที่เครือข่ายอื่นอย่างไม่จำกัดทำให้เครือข่ายรับไม่ไหว การระบาดครั้งนั้นทำให้สูญเสียเป็นมูลค่ากว่า 96 ล้านเหรียญสหรัฐ